วันจันทร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ทุกข์ของชาวนาในบทกวี

ทุกข์ของชาวนาในบทกวี

        หน่วยการเรียนรู้ที่ 6
เรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี
ความเป็นมา
             บทความเรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี มีที่มาจากหนังสือรวบรวมบทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่อง มณีพลอยร้อยแสง ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดฯให้จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2533 ในวโรกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ โดย นิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประวัติผู้แต่ง
             สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามราชกุมารี ทรงประกอบพระราชกรณียกิจหลายประการ ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมร้อยแก้ว ร้อยกรอง และงานแปล ในงานพระราชนิพนธ์แต่ละเรื่อง พระองค์จะใช้นามแฝงที่แตกต่างกันไป เช่น ก้อนหิน แว่นแก้ว หนูน้อย เป็นต้น
             นอกจากนี้ยังทรงประกอบพระราชกรณียกิจในด้านการศึกษา  การพัฒนาสังคม โดยมีโครงการในพระราชดำริส่วนพระองค์หลายโครงการ
ลักษณะคำประพันธ์
             ทุกข์ของชาวนาในบทกวี เป็นบทความแสดงความคิดเห็น ซึ่งเป็นบทความที่มีจุดมุ่งหมายที่จะแสดงความคิดเห็นในประเด็นใดประเด็นหนึ่ง  ความคิดเห็นที่มานำเสนอได้มาจากการวิเคราะห์ การใช้วิจารณญาณไตร่ตรองของผู้เขียน โดยผ่านการ สำรวจปัญหา ที่มาของเรื่อง และข้อมูลต่างๆ อย่างละเอียดความคิดเห็นที่นำเสนออาจจะเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาตามทัศนะของผู้เขียนหรือการโต้แย้งความคิดเห็นของผู้อื่นมาก่อน
เรื่องย่อ
เนื้อความในตอนแรกของบทความเรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี สมเด็จพระเทพพระรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้ทรงยกบทกวีของ จิตร ภูมิศักดิ์ซึ่งกล่าวถึงชีวิตและความทุกข์ยากของชาวนา


เนื้อเรื่อง
ทุกข์ของชาวนาในบทกวี
เปิบข้าวทุกคราวคำ              จงสูจำเป็นอาจิณ
เหงื่อกูที่สูกิน                                 จึงก่อเกิดมาเป็นคน
ข้าวนี้น่ะมีรส                        ให้ชนชิมทุกชั้นชน
เบื้องหลังสิทุกข์ทน                        และขมขื่นจนเขียวคาว
จากแรงมาเป็นรวง              ระยะทางนั้นเหยียดยาว
จากรวงเป็นเม็ดพราว                      ล้วนทุกข์ยากลำเค็ญเข็ญ
เหงื่อหยดสักกี่หยาด            ทุกหยดหยาดล้วนยากเย็น
ปูดปูนกี่เส้นเอ็น                              จึงแปรรวงมาเปิบกิน
น้ำเหงื่อที่เรื่อแดง                 และน้ำแรงอันหลั่งริน
สายเลือดกูทั้งสิ้น                             ที่สูซดกำซาบฟัน
(จิตร ภูมิศักดิ์)


ต่อมาพระองค์ได้ทรงอ่านบทกวีของชาวจีบบทหนึ่ง มีใจความว่า

หว่านข้าวในฤดูใบไม่ผลิ  ข้าวเมล็ดหนึ่ง
จะกลายเป็นหมื่นเมล็ดในฤดูใบไม้ร่วง
รอบข้างไม่มีนาที่ไหนทิ้งว่าง
แต่ชาวนาก็ยังอดตาย
ตอนอาทิตย์เที่ยงวัน  ชาวนายังพรวนดิน
เหงื่อหยดบนดินภายใต้จ้นข้าว
ใครจะรู้บ้างว่าในจานใบนั้น
ข้าวแต่ละเม็ดคือความยากแค้นแสนสาหัส
                                                      (หลี่เชิน)


คำศัพท์
กำซาบ
ซึมเข้าไป
เขียวคาว
สีเขียวของข้าว
ธัญพืช
ธัญพืชที่ให้เมล็ดเป็นหลัก เช่น ข้าว ข้าวสาลี ข้าวโพด เป็นต้น
ประกันราคา
รับประกันที่จะรับซื้อผลผลิตตามราคาที่ได้กำหนดไว้ในอนาคต
เปิบ
วิธีการใช้นิ้วทั้งห้าหยิบข้าวใส่ปาก
ภาคบริการ
อาชีพที่ให้บริการผู้อื่น
ลำเลิก
กล่าวทวงบุญคุณ
สวัสดิการ
การให้สิ่งเอื้ออำนวย
สู
สรรพนามบุรุษที่2 เป็นคำโบราณ
อาจิณ
ประจำ


บทวิเคราะห์
คุณค่าด้านภาษา
กลวิธีการแต่ง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี นับเป็นตัวอย่างอันดีของบทความที่สามารถยึดถือเป็นแบบอย่างได้ ด้วยแสดงให้เห็นแนวความคิดที่ชัดเจน    ลำดับเรื่องราวเข้าใจง่าย  และมีส่วนประกอบของการเขียนบทความอย่างครบถ้วน คือ ส่วนนำ   เนื้อเรื่อง ส่วนสรุป
คุณค่าด้านสังคม
สมเด็จพระเทพพระรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ได้ทรงยกบทกวีของ จิตร ภูมิศักดิ์ซึ่งแต่งด้วยกาพย์ยานี 11 จำนวน 5บท มีเนื้อหาเกี่ยวกับความยากลำบากของชาวนาที่ปลูกข้าวซึ่งเป็นอาหารหลักของคนทุกชนชั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การวิจักษ์เเละการวิจารณ์วรรณคดี

การวิจักษ์เเละการวิจารณ์วรรณคดี การอ่านวรรณคดี ผู้อ่านวรรณคดีจะมีจุดมุ่งหมายต่างๆดังนี้ 1. อ่านเพื่อความเพลิดเพลินอารมณ์ 2. อ่านเพราะ...