วันจันทร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2560

การวิจักษ์เเละการวิจารณ์วรรณคดี

การวิจักษ์เเละการวิจารณ์วรรณคดี

การอ่านวรรณคดี
ผู้อ่านวรรณคดีจะมีจุดมุ่งหมายต่างๆดังนี้
1. อ่านเพื่อความเพลิดเพลินอารมณ์
2. อ่านเพราะชอบว่าเป็นเรื่องที่ถูกกับนิสัยและชีวิตของตน
3. อ่านเพราะชอบว่าเป็นเรื่องที่แปลกและต่างกับที่ตนเคยพบมา
4. อ่านอย่างเพ่งเร็งข้อเท็จจริงเหมือนอ่านตำรา
5. อ่านเพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ชีวิต
6. อ่านเพื่อรับรสความงาม ความไพเราะของบทประพันธ์
นาย วิทย์ ศิวะศริยานนท์ มีความเห็นว่า 4 ข้อแรก เป็นการบกพร่องและทำให้ขาดสาระสำคัญไป วรรณคดีไม่ใช่สิ่งที่อ่านเพื่อฆ่าเวลาหรือเพลิดเพลินเพียงอย่างเดียว การอ่านวรรณคดีที่แท้จริงคือการพยายามทำความเข้าใจบทประพันธ์ให้ปรุโปร่งและพยายามใช้จินตภาพสร้างอารมณ์ของกวีขึ้นในจิตใจของเรา เพื่อจะได้เข้าถึงสารที่กวีต้องการสื่อ การประพันธ์วรรณคดีเป็นการสื่อสารอย่างหนึ่งซึ่งกวีจะต้องสามารถระบายความรูสึกของตนโดยใช้ภาษาเป็นสื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้มากที่สุด ไม่เพียงแต่แสดงความรูสึกออกไปเท่านั้น ผู้อ่านจะต้องมีจินตนาการสามารถพาตนเข้าไปอยู่ในสภาพสมมุติด้วยสติปัญญา คำว่าสติปัญญา ตามคำแนะนำตรงกับคำว่า วิจารณญาณ ที่เรามักได้ยินกัน ซึ่งเป็นการกลั่นกรองเอาคุณค่าที่แท้จริงของวรรณคดีที่แท้จริงออกมา
การวิจักษ์และการวิจารณ์วรรณคดี
วรรณคดี คือ ผลงานที่สืบทอดกันมานาน เป็นหนังสือที่มีคุณค่า
การวิจักษ์วรรณคดี คือ การเกิดความเข้าใจแจ่มแจ้งจนตระหนักในคุณค่าของวรรณคดีเรื่องหนึ่งๆว่าเป็นงานศิลปะที่ถึงพร้องเพียงใด มีข้อดีข้อเด่นอย่างไร ความตระหนักดังกล่าวจะนำไปสู่ความซาบซึ้งในคุณค่า ทำให้เกิดความหวงแหน อยากจะรักษาไว้เป็นสมบัติของชาติ
การวิจารณ์วรรณคดี คือ การแสดงความคิดเห็นส่วนตัว ว่าชอบหรือไม่ชอบเรื่องที่อ่านนั้นอย่างไร บางครั้งอาจติชมไปว่าดีหรือไม่ดีด้วย แต่ผู่อ่านที่ดีต้องไม่หยุดอยู่แค่นั้น ควรจะถามตนเองต่อว่าที่ชอบหรือไม่ชอบ ที่ว่าดีหรือไม่ดีนั้นเพราะเหตุใด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การวิจักษ์เเละการวิจารณ์วรรณคดี

การวิจักษ์เเละการวิจารณ์วรรณคดี การอ่านวรรณคดี ผู้อ่านวรรณคดีจะมีจุดมุ่งหมายต่างๆดังนี้ 1. อ่านเพื่อความเพลิดเพลินอารมณ์ 2. อ่านเพราะ...