วันจันทร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2560

มงคลสูตรคำฉันท์

มงคลสูตรคำฉันท์

หน่วยการเรียนรู้ที่7
เรื่อง มงคลสูตรคำฉันท์
ความเป็นมา
    เมื่อ พ.ศ. 2466 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในรัชกาลที่6 ทรงนำมงคลสูตรมาทรงพระราชนิพนธ์เป็นบทร้อยกรองประเกทคำฉันท์ โดยใช้คำประพันธ์ 2 ชนิด คือกาพย์ฉบัง 16 และอินทรวิเชียรฉันท์ 11 ทรงนำคาถาภาษาบาลีจากพระไตรปิฏกตั้ง
   แล้วแปลถอดความเป็นร้อยกรองภาษาไทย  ได้ถูกต้องตรงตามบังคับในฉันทลักษณ์
โดยไม่เสียเนื้อความจากพระคาถาบาลี การจัดวางลำดับของมมงคลแต่ละข้อก็เป็นไปตามที่ปรากฏอยู่ในพระคาถาเดิม  ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพระอัจริยภาพทางด้านภาษาได้อย่างดียิ่ง
ผู้แต่ง
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ลักษณะคำประพันธ์
กาพย์ฉบัง 16 และอินทรวิเชียรฉันท์11
เรื่องย่อ
   สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงมงคลสูงสุด 38 ประการ ไว้ในมงคลสูตรซึ่งสำคัญบทหนึ่งในพระพุทธศาสนา มงคลสูตรปรากฏในพระไตรปิฏก ขุททกนิกาย หมวดทขุททกปาฐะ
เนื้อเรื่อง
๑ สิบสองฉนำเหล่า        นรอีกสุเทวา
   รวมกันและตริหา        สิริมังคลา
๒  เทวามนุษย์ทั่ว           พหุภพประเทศใน
     หมื่นจักรวาล              ดำริสิ้นจิรังกาล
     แล้วยังบ่รู้มง-             คละสมมโนมาลย์
    ด้วยกาละล่วงนาน       บ่มิได้ประสงค์สม
     ได้เกิดซึ่งโลกา-           หละยิ่งมโหดม
     ก้องถึงณชั้นพรหม      ธสถิตสะทือนไป
ฯลฯ
คำศัพท์
โกศล
ฉลาด
ขุททกนิกาย
พระสูตรเล็กน้อยหรือย่อยๆ
ขุททกปาฐะ
บทสวดหรือบทสวดสั้นๆ
คติ
วิธี แนวทาง
คาถา
คำประพันธ์ในภาษาบาลี
จิรังกาล
เวลาช้านาน
จำนง
ประสงค์ มุ่งมั่น ตั้งใจ
ชินสีห์
พระนามหนึ่งของพระพุทธเจ้า  แปลว่า ผู้ชนะ
ฉนำ
ปี
เฉิดเฉลา
งามเด่น
ดำกล
ตั้งไว้ ยืนยอยู่
ติระ
ฝั่ง
ทะเลวน
เวียนว่ายตายเกิด
ทศพล
ผู้มีกำลัง 10 ประการ
ทุษะ
คือ โทษ
นร
คน
บรรสาน
คือ ประสาน เชื่อม ผูกไว้
ยำเรอ
รับใช้
ประคอง
พยุงให้ทรงตัวยุ
ปรีย์
มี่รัก

   วิเคราะห์
คุณค่าด้านเนื้อหา
มงคลสูตรคำฉันท์นอกจากจะมีการแปลถอดความมาจากพระคาถาแล้ว ยังมีการอธิบายขยายมงคลเพิ่มเติมเพื่อให้เข้าใจมากขึ้น
คุณค่าด้านวรรณศิลป์
การสรรคำ   การเลือกสรรคำเป็นอย่างดี
การเลือกใช้คำประพันธ์  การเลือกใช้กาพย์ฉบัง16 และ อินทรวิเชียรฉันท์ 11 สามารถประพันธุ์ได้ตรงตามบังคับในฉันทลักษณ์โดยไม่เสียเนื้อความจากพระคาถาบาลี
การแปลถอดความ  การภาษาบาลีเป็นบทร้อยกรอง  ประเภทคำฉันท์ ทรงแปลถอดความได้อย่างสละสลวย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การวิจักษ์เเละการวิจารณ์วรรณคดี

การวิจักษ์เเละการวิจารณ์วรรณคดี การอ่านวรรณคดี ผู้อ่านวรรณคดีจะมีจุดมุ่งหมายต่างๆดังนี้ 1. อ่านเพื่อความเพลิดเพลินอารมณ์ 2. อ่านเพราะ...