วันเสาร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2560

อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง

  อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง
ร.2

บทพระราชนิพนธ์ใน  พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  in6

ที่มา   19 19
       อิเหนามีมาตั้งแต่ตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี มีเรื่องเล่ากันว่าพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศกับเจ้าฟ้าสังวาล  คือ  เจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎได้ฟังนิทานปันหยีหรือเรื่องอิเหนาจากนางกำนัลชาวมลายูที่ได้มาจากเมืองปัตตานี พระราชธิดาทั้งสองพระองค์จึงพระราชนิพนธ์นิทานเรื่องนี้ขึ้น เจ้าฟ้ากุณฑลทรงนิพนธ์บทละครเรื่องของดาหลัง ส่วนเจ้าฟ้ามงกุฎทรงนิพนธ์เป็นละครเรื่อง  อิเหนา แต่คนทั่วไปมักเรียกบทพระราชนิพนธ์ของทั้งสองพระองค์นี้ว่า อิเหนาใหญ่ และอิเหนาเล็ก  นิทานปันหยีของไทยจึงมี ๒ สำนวนแต่นั้นมา ต่อมาสมัยรัตนโกสินทร์  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชก็ทรงพระราชนิพนธ์บทละคร อิเหนา ขึ้น โดยยังคงเค้าโครงเรื่องเดิมต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้พระราชนิพนธ์ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด เนื่องจาก เนื้อความเข้ากันไม่สนิทกับบทเมื่อครั้งกรุงเก่าและนำมาเล่นละครได้ไม่เหมือนจึงทรงพระราชนิพนธ์ใหม่ให้สั้นและสอดคล้องกับท่ารำโดยรักษากระบวนการเดิม แล้วพระราชทานให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิทักษ์มนตรีซึ่งเชี่ยวชาญในการละคร ได้นำไปประกอบท่ารำและฝึกซ้อมจนเห็นสมควรว่าดี แล้วจึงรำถวายให้ทอดพระเนตรเพื่อให้มีพระบรมราชวินิจฉัยอีกครั้งเป็นอันเสร็จ
19 ลักษณะคำประพันธ์  กลอนบทละคร  clickfd
กลอนบทละคร  กลอนบทละคร  มีลักษณะบังคับเหมือนกลอนสุภาพ แต่มักมีคำขึ้นต้นบทด้วยคำว่า “เมื่อนั้น” “บัดนั้น” และ “มาจะกล่าวบทไป”  โดยคำว่า เมื่อนั้น” ใช้เมื่อขึ้นต้นกับตัวละครที่สำคัญ เช่นตัวเอกหรือกษัตริย์   “บัดนั้น ”  ใช้ขึ้นต้นตัวละครที่เป็นตัวรอง เช่นเสนา อำมาตย์หรือตัวละครธรรมดา   มาจะกล่าวบทไป”  ใช้ขึ้นต้นเมื่อเริ่มตอนใหม่ (วิเชียร  เกษประทุม  ลักษณะคำประพันธ์ไทย) นอกจากนั้นยังมีการขึ้นต้นด้วยวลี ตั้งแต่ ๒ คำ -๔ คำหรืออาจมากกว่าก็ได้
4fa3b902a79fd4fa3b902a79fd4fa3b902a79fd4fa3b902a79fd

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การวิจักษ์เเละการวิจารณ์วรรณคดี

การวิจักษ์เเละการวิจารณ์วรรณคดี การอ่านวรรณคดี ผู้อ่านวรรณคดีจะมีจุดมุ่งหมายต่างๆดังนี้ 1. อ่านเพื่อความเพลิดเพลินอารมณ์ 2. อ่านเพราะ...