วันจันทร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2560

การวิจักษ์เเละการวิจารณ์วรรณคดี

การวิจักษ์เเละการวิจารณ์วรรณคดี

การอ่านวรรณคดี
ผู้อ่านวรรณคดีจะมีจุดมุ่งหมายต่างๆดังนี้
1. อ่านเพื่อความเพลิดเพลินอารมณ์
2. อ่านเพราะชอบว่าเป็นเรื่องที่ถูกกับนิสัยและชีวิตของตน
3. อ่านเพราะชอบว่าเป็นเรื่องที่แปลกและต่างกับที่ตนเคยพบมา
4. อ่านอย่างเพ่งเร็งข้อเท็จจริงเหมือนอ่านตำรา
5. อ่านเพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ชีวิต
6. อ่านเพื่อรับรสความงาม ความไพเราะของบทประพันธ์
นาย วิทย์ ศิวะศริยานนท์ มีความเห็นว่า 4 ข้อแรก เป็นการบกพร่องและทำให้ขาดสาระสำคัญไป วรรณคดีไม่ใช่สิ่งที่อ่านเพื่อฆ่าเวลาหรือเพลิดเพลินเพียงอย่างเดียว การอ่านวรรณคดีที่แท้จริงคือการพยายามทำความเข้าใจบทประพันธ์ให้ปรุโปร่งและพยายามใช้จินตภาพสร้างอารมณ์ของกวีขึ้นในจิตใจของเรา เพื่อจะได้เข้าถึงสารที่กวีต้องการสื่อ การประพันธ์วรรณคดีเป็นการสื่อสารอย่างหนึ่งซึ่งกวีจะต้องสามารถระบายความรูสึกของตนโดยใช้ภาษาเป็นสื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้มากที่สุด ไม่เพียงแต่แสดงความรูสึกออกไปเท่านั้น ผู้อ่านจะต้องมีจินตนาการสามารถพาตนเข้าไปอยู่ในสภาพสมมุติด้วยสติปัญญา คำว่าสติปัญญา ตามคำแนะนำตรงกับคำว่า วิจารณญาณ ที่เรามักได้ยินกัน ซึ่งเป็นการกลั่นกรองเอาคุณค่าที่แท้จริงของวรรณคดีที่แท้จริงออกมา
การวิจักษ์และการวิจารณ์วรรณคดี
วรรณคดี คือ ผลงานที่สืบทอดกันมานาน เป็นหนังสือที่มีคุณค่า
การวิจักษ์วรรณคดี คือ การเกิดความเข้าใจแจ่มแจ้งจนตระหนักในคุณค่าของวรรณคดีเรื่องหนึ่งๆว่าเป็นงานศิลปะที่ถึงพร้องเพียงใด มีข้อดีข้อเด่นอย่างไร ความตระหนักดังกล่าวจะนำไปสู่ความซาบซึ้งในคุณค่า ทำให้เกิดความหวงแหน อยากจะรักษาไว้เป็นสมบัติของชาติ
การวิจารณ์วรรณคดี คือ การแสดงความคิดเห็นส่วนตัว ว่าชอบหรือไม่ชอบเรื่องที่อ่านนั้นอย่างไร บางครั้งอาจติชมไปว่าดีหรือไม่ดีด้วย แต่ผู่อ่านที่ดีต้องไม่หยุดอยู่แค่นั้น ควรจะถามตนเองต่อว่าที่ชอบหรือไม่ชอบ ที่ว่าดีหรือไม่ดีนั้นเพราะเหตุใด

วรรณคดีและวรรณกรรม

  วรรณคดี หมายถึง หนังสือที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดี ส่วน การวิจักษ์ หมายถึง ที่รู้แจ้ง ที่เห็นแจ้ง ฉลาดมีสติปัญญา เชี่ยวชาญ ชำนาญ โดยรวม การวิจักษ์วรรณคดี จึงหมายถึง การอ่านวรรณคดีโดยใช้ความคิดพิจารณาไตร่ตรอง กลั่นกรอง แยกแยะและแสวงหาเหตุผลเพื่อประเมินคุณค่าของวรรณคดีอย่างมีเหตุผล และพิจารณาได้ว่าหนังสือแต่ละเรื่องแต่งดีแต่งด้อยอย่างไร ใช้ถ้อยคำสำนวนภาษาได้ไพเราะหรือลึกซึ้งเพียงใด ให้คุณค่า ความรู้ ข้อคิดและคติสอนใจหรือถ่ายทอดให้เห็นสภาพชีวิต ความคิด ความเชื่อขอคนในสังคมอย่างไร ส่วนการวิจารณ์วรรณคดีนั้น เป็นการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับวรรณคดีที่อ่าน แล้วสามารถบอกได้ว่าวรรณคดีเรื่องนี้ดีหรือไม่ดี ชอบหรือไม่ชอบด้วยเหตุผลใด
เนื้อหาในวรรณคดี
            เนื้อหาในวรรณคดี มีหลากหลาย อาจจำแนกได้ตามเนื้อหาและเรื่องราวดังต่อไปนี้
        ๑วรรณคดีศาสนา มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างศรัทธาและสั่งสอนให้เข้าใจสาระของศาสนา เนื้อเรื่องมีทั้งที่นำมาจากศาสนาโดยตรงและที่นำเค้าโครงหรือแนวคิดของศาสนามาผูกเป็นเรื่อง เช่น ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก ไตรภูมิพระร่วง สามัคคีเภทคำฉันท์ ธรรมาธรรมะสงคราม ลิลิตนารายณ์สิบปาง เป็นต้น
        ๒วรรณคดีคำสอน มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นแนวทางในการนำไปประพฤติปฏิบัติ เนื้อเรื่องส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากหลักธรรมทางศาสนา เช่น สุภาษิตพระร่วง โคลงโลกนิติ สุภาษิตสอนหญิง สวัสดิรักษาคำกลอน โคลงพาลีสอนน้อง เป็นต้น
        ๓วรรณคดีขนบธรรมประเพณีและพิธีกรรม มี ๒ ลักษณะ คือ เป็นบทที่นำไปใช้ในการประกอบพิธี มีเนื้อหาและการใช้ภาษาที่ไพเราะ สร้างอารมณ์ให้ความรู้สึกถึงความศักดิ์สิทธิ์ของพิธี เช่น กาพย์เห่เรือ โองการแช่งน้ำ ฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง มหาชาติกลอนเทศน์ เป็นต้น
        ๔วรรณคดีประวัติศาสตร์ มักมีเนื้อหาเกี่ยวกับการศึกสงคราม การสดุดีวีรชนที่กล้าหาญ และเล่าถึงเหตุการณสำคัญที่เกิดขึ้นในบ้านเมือง เช่น ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ลิลิตรชยวนพ่าย ลิลิตตะเลงพ่าย เสภาพระราชวงศาวดารชร โคลงชะลอพระพุทธไสยาสน์ เป็นต้น
        ๕วรรณคดีบันทึกการเดินทาง มักมีเนื้อหาพรรณนาความรักความอาลัยของกวีที่ต้องจากนางอันเป็นที่รัก และเล่ารายละเอียดเกี่ยวกับการเดินทาง การบรรยายสถาพสังคม วัฒนธรรมรวมทั้งการแสดงทัศนะต่อเหตุการณ์ที่กวีพบเห็นตลอดเส้นทาง เช่น นิราศนรินทร์ นิราศพระบาท นิราศนครสวรรค์ นิราศสุพรรณ เป็นต้น
        ๖วรรณคดีเพื่อความบันเทิง มักมีเนื้อหามาจากนิทานประเภทจักรๆวงศ์ๆหรือนิยายท้องถิ่นที่มีเค้าเรื่องจริง เนื้อหาซึ่งเป็นนิทานนั้นกับการแต่งเป็นวรรณคดี เพราะมีครบทุกอรรถรสและอารมณ์ และมักแต่งเพื่อใช้ประกอบการแสดงมหรสพต่างๆ เช่น บทละครพูดคำฉันท์เรื่องมัทนะพาธา สังข์ทอง รามเกียรติ์ ขุนช้างขุนแผน อิเหนา เป็นต้น  
ความรู้เรื่องวรรณคดีไทย
1. กลบท คือ คำประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้คำหรือสัมผัสเป็นชั้นเชิงยิ่งกว่าธรรมดา เป็นการเล่นคำ เช่น กลอนกลบทสะบัดสะบิ้ง (ในแต่ละวรรคใช้คำได้ตั้งแต่9-10 คำ สัมผัสในมี คู่ อยู่ที่ คำท้ายของวรรค ให้คู่ที่ เป็นคำซ้ำกัน เช่น สุด__สุด คู่ที่ เป็นคำสัมผัสอักษร
2. กวี ผู้แต่งหนังสือวรรณคดีไทยแบ่งกวีออกเป็น ประเภท คือ
2.1 อรรถกวี หมายถึง กวีซึ่งแต่งเรื่องราวจากเหตุการณ์และความเป็นจริงเช่น นิราศ
2.2 จินตกวี หมายถึง กวีที่แต่งเรื่องโดยคิดโครงเรื่องเอง เช่น พระอภัยมณี
2.3 สุตกวี หมายถึง กวีที่แต่งเรื่องจากที่ได้ยินได้ฟังหรือได้อ่านมา เช่น รามเกียรติ์
2.4 ปฏิภาณกวี หมายถึง กวีที่ประพันธ์บทร้อยกรองได้ฉับพลันและสามารถโต้เป็นบทร้อยกรองสดได้ เช่น ศรีปราชญ์ สุนทรภู่
3. ฉันทลักษณ์ คือ ลักษณะแบบแผนคำประพันธ์ประเภทร้อยกรอง
4. นามนัย คือ การใช้ชื่อส่วนประกอบที่เด่นของสิ่งหนึ่งๆแทนสิ่งนั้นๆทั้งหมด เช่น ฉัตร หมายถึงความเป็นกษัตริย์ เก้าอี้ คือ ตำแหน่ง
5. นัยประหวัด คือ การใช้คำเป็นนัยเชิงเปรียบเทียบเพื่อให้นึกถึงความหมายของคำๆนั้นก่อนแล้วจึงนำมาประกอบเพื่อให้เข้าใจในความหมายใหม่ของสำนวน ผู้รับสารจึงควรรู้จักความหมายของคำนั้นมาก่อนจึงจะทำให้เข้าใจความหมายได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น “สนิมมันกัดกินหัวใจของเขาจนอ่อนล้าหมดกำลังใจที่จะทำอะไรอีกต่อไป”
6. แนวคิด คือ ความคิดหลักของกวีหรือผู้เขียนที่มีอยู่ในเรื่องที่เขียน เช่น แนวคิดเรื่อง “ผู้ดี” คือ ผู้ที่ประพฤติดีทั้งกาย วาจา ใจ
7. รสวรรณคดี คือ อารมณ์และความรู้สึกของผู้อ่านวรรณคดีที่เกิดขึ้นหลังจากที่ได้อ่านวรรณคดี
7.1 รสวรรณคดีแบบไทย มี รส ได้แก่ เสาวรจณี(บทชมโฉม ชมความงามนารีปราโมทย์(บทเกี้ยวพาราสีพิโรธวาทัง(บทแสดงความโกรธ เกรี้ยวกราดสัลลาปังคพิสัย(บทคร่ำครวญ ตัดพ้อต่อว่า)
7.2 รสวรรณคดีแบบสันสกฤต มี รส ได้แก่
7.2.1 ศฤงคารรส(รสแห่งความรัก แบ่งเป็นความรักของผู้ที่อยู่ห่างจากกันซึ่งอาจจะพบรักแล้วแต่ยังไม่รู้ความในใจของกันและกันและความรักของผู้ที่อยู่ใกล้กัน)
7.2.2 รุทรส(รสแห่งความโกรธหรือการกระทำที่รุนแรงของตัวละครทำให้ผู้อ่านรับรู้ความ
ทุกข์ของตัวละครที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือรองรับอารมณ์อยู่)
7.2.3 วีรรส(รสแห่งความกล้า ซึ่งอาจเป็นการต่อสู้ การเสียสละ การปฏิบัติหน้าที่ที่ถูกต้อง)7.2.4 พีภัตสรส(รสแห่งความน่ารังเกียจ เบื่อระอาและน่ากลัว)
7.2.5 ศานตรส(รสแห่งความสงบ)
7.2.6 หาสยรส(รสแห่งความสนุกสนาน ขบขัน แบ่งเป็นการพูดหรือทำให้ผู้อื่นขบขันและความรู้สึกที่ตัวละครขบขันขึ้นมาเองหรือมีคนทำให้ตัวละครขบขัน)
7.2.7 กรุณารส(เป็นอารมณ์ร่วมของผู้อ่านที่เห็นผู้อื่นทุกข์ก็เกิดความสงสารอยากจะช่วย)
7.2.8 ภยานกรส(รสแห่งความหวาดกลัว ผู้อ่านจะรับรู้ความหวาดกลัวของตัวละครและในบางครั้งก่อให้เกิดรสวรรณคดีอย่างอื่นตามมา เช่นเกิดความสงสาร)
7.2.9 อัทภูตรส(รสแห่งความอัศจรรย์ พิศวงที่เกิดจากการที่ได้เห็นในสิ่งที่เป็นทิพย์ วิมานการไปเที่ยวในสวรรค์วิมาน การได้รับสิ่งที่ปรารถนา การไปเที่ยวในสถานที่ที่งดงาม)
8. เล่นคำ การใช้กลการประพันธ์ในการแต่งบทร้อยกรองด้วยการซ้ำคำหรือซ้ำอักษร เพื่อให้เกิดเสียงเสนาะ หรือให้มีความหมายลึกซึ้งกินใจและได้ความหมายที่ต่างกันในคำคำเดียว เช่น นกแก้วจับแก้วพาที เหมือนวันพี่จากสามสุดามา(แก้ว หมายถึง นกและต้นไม้)
9. วรรณคดี คือ วรรณคดีที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดี
10. วรรณศิลป์ คือ ศิลปะในการแต่งหนังสือ
11. วิจักษ์วรรณคดี คือ การทำความเข้าใจในวรรณคดีที่อ่านอย่างแจ่มแจ้งจนตระหนักในคุณค่าของวรรณคดี
12. วิจารณ์วรรณคดี คือ การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับวรรณคดี
13. โวหาร คือชั้นเชิงหรือสำนวนในการแต่งเพื่อก่อให้เกิดจินตภาพ ความรู้สึกและอารมณ์แก่ผู้อ่าน บางที่เรียกว่า “ภาพพจน์”
14. ไวพจน์ คือ คำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกัน
15. ศุภมัสดุ เป็นคำขึ้นต้นลงท้ายในประกาศหรือข้อความสำคัญ เช่น ประกาศพระบรมราชโองการ
16. บุคลาธิษฐาน(บุคคลวัต,บุคคลสมมุติเป็นการสมมุติให้สิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์เป็นเหมือนมนุษย์
17. ปฏิพากย์ เป็นคำที่ความหมายตรงกันข้ามอยู่ในบทประพันธ์
18. สัญลักษณ์ คือคำที่กำหนดขึ้นใช้แทนสิ่งใดสิ่งหนึ่งและเป็นที่รับรู้กันในสังคมกลุ่มนั้นๆ เช่น สีขาว หมายถึง ความริสุทธิ์
19. สัทธพจน์ คือ การใช้คำเลียนเสียงธรรมชาติ
20. อธิพจน์ คือ คำหรือสำนวนที่กล่าวเกินจริง บางทีเรียกว่า “อติพจน์”
21. อัพภาส การใช้คำซ้ำโดยการกร่อนคำ
22. อุปมา สำนวนหรือข้อความที่ยกมาเปรียบเพื่อให้เกิดความชัดเจน มักใช้คำว่า ดัง ดุจ แม้น เพี้ยง เหมือน ราว ปาน ประหนึ่ง
23. อุปลักษณ์ ลักษณะเหมือนหรือใกล้เคียง นิยมใช้คำว่า คือ เป็น
24.วรรณคดี
24.1 เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนขุนช้างถวายฎีกา ผู้แต่ง ไม่ปรากฏ รูปแบบ กลอนเสภา
24.2 สามก๊ก ตอนกวนอูไปรับราชการกับโจโฉ ผู้แต่ง เจ้าพระยาพระคลัง(หน)ความเรียงอธิบาย
24.3 กาพย์เห่เรือ ผู้แต่ง เจ้าฟ้าธรรมธิเบศ ไชยเชษฐ์สุริวงศ์(เจ้าฟ้ากุ้งรูปแบบ บทเห่เรือ ตอนแต่ละตอนนำด้วยโคลงสี่สุภาพ บทและตามด้วยกาพย์ยานี 11 ไม่จำกัดจำนวน
24.4 สามัคคีเภทคำฉันท์ ผู้แต่ง ชิต บุรทัต รูปแบบ บทร้อยกรองประเภทฉันท์
24.5 ไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ ผู้แต่ง พระมหาธรรมราชาที่ 1พญาลิไทย รูปแบบ เป็นร้อยแก้วที่ใช้ถ้อยคำมีจังหวะและมีสัมผัสคล้องจอง
24.6 กาญจนกานท์(บทร้อยกรองอันสูงค่า มี 10 บท กวี ท่าน)
24.7 พระครูวัดฉลอง(สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ)นิทานร้อยแก้ว
24.8 นิราศพระบาท(สุนทรภู่แต่งเรื่องนี้ในโอกาสที่ได้ตามเสด็จพระภิกษุพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ ซึ่งเสด็จไปนมัสการพระพุทธบาทสระบุรี เมื่อพ.. 2350
24.9 สายใยธรรมชาติคือสายใยชีวิต(นงพงา สุขวนิช)เป็นสารคดี เพื่อให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกรักและหวงแหนในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นสมบัติของมนุษยชาติ
24.10 มอม(หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช)เป็นร้อยแก้วประเภทเรื่องสั้น
24.11 พระบรมราโชวาท(รัชกาลที่ 5) เพื่อพระราชทานแก่พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เมื่อเสด็จไปทรงศึกษาวิชาการ ณ ต่างประเทศครั้งทรงพระเยาว์ เพื่อปฏิบัติตนให้ถูกต้อง ดีงามในขณะที่ศึกษาหาความรู้ที่ต่างประเทศ
24.12 ทุกข์ของชาวนาในบทกวี(สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี)เพื่อแสดงแนวพระราชดำริเกี่ยวกับบทกวีของไทยเทียบกับกวีของจีนซึ่งแสดงถึงชีวิตและความทุกข์ยากของชาวนาที่ดำเนินมาไม่เปลี่ยนแปลงแม้เวลาจะต่างกันถึงพันปี
24.13 มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี(เจ้าพระยาพระคลัง(หน)) ให้คติธรรมเรื่องการบริจาคทานอันเป็นสิ่งประเสริฐ24.14 ลิลิตตะเลงพ่าย(สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวรมหาราชในงานพระราชพิธีฉลองตึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
24.15 บทละครพูดคำฉันท์ เรื่องมัธนะพาธา (รัชกาลที่ 6) บทละคร
24.16 คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์(รัชกาลที่ 5) กาพย์ยานี 11
24.16 โคลนติดล้อ ตอน ความนิยมเป็นเสมียน (รัชกาลที่ 6) เป็นบทความที่มีสำนวนคมคาย อ่านเข้าใจง่าย

มหาชาติหรือมหาเวสสันดร

มหาชติหรือมหาเวสสันดร

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๘
มหาชาติหรือมหาเวศสันดรชาดก
ความเป็นมา
  พุทธศาสนิกชนชาวไทยนับถือกันมาแต่ครั้งโบราณว่า มหาเวศสันดรเป็นชาดกที่สำคัญกว่าชาดกเรื่องอื่น เพราะว่าด้วยเรื่องราวที่ปรากฏบารมีของพระโพธิสัตว์อยู่โดยบนิบูรณ์ทั้ง ๑๐ บารมี
นอกจากนี้ยังมีผู้นำมหาเวสสันดรชาดกไปแต่งเป็นภาษาไทยอีกหลายสำนวน และใช้คำประพันธ์หลายชนิด เช่น กลอน ฉันท์ กาพย์ ลิลิต และร้อยแก้ว รวมทั้งยังมีมหาเวสสันดรชาดกที่เป็นภาษาถิ่นอีกหลายฉบับ
ประวัติผู้แต่ง
-                    สำนักวัดถนน – กัณฑ์ทานกัณฑ์
-                   สำนักวัดสังข์กระจาย – กัณฑ์ชูชก
-                   พระเทพโมลี (กิ่น) – กัณฑ์มหาพน
-                   เจ้าพระยาพระคลัง (หน) –กัณฑ์กุมารและกัณฑ์มัทรี
หลังจากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงยมกปาฏิหารย์  ทำให้พระประยูรญาติละทิฐิยอมถวายบังคม  ก็บังเกิดฝนโบกขรพรรษ  พระภิกษุทั้งหลายจึงได้ทูลถามพระพุทธเจ้า  พระพุทธองค์ตรัสเล่าว่า  ฝนชนิดนี้เคยตกมาแล้วในอดีต  พระองค์จึงทรงแสดงธรรมเรื่องมหาเวสสันดรชาดก   หรือเรื่องมหาชาติ  ทั้ง 13 กัณฑ์  ตามลำดับ  ดังนี้
       กัณฑ์ที่ ทศพรา  พระอินทร์ประสาทพรแก่พระนางผุสดี  ก่อนที่จะจุติลงมาเป็นพระราชมารดาของพระเวสสันดร  แต่ปางก่อนนั้นผุสดีเทวีเสวยชาติเป็นอัครมเหสีของพระอินทร์  เมื่อจะสิ้นพระชนมายุจึงขอกัณฑ์ทศพรจากพระอินทร์ได้ 10 ประการ  ทั้งยังเคยโปรยผงจันทร์แดง  ถวายพระวิปัสสีพุทธเจ้าและอธิฐานให้ได้เกิดเป็นมารดาพระพุทธเจ้าด้วย พร 10 ประการนั้นมีดังนี้
1.  ขอให้เกิดในกรุงมัททราช  แคว้นสีพี
2.  ขอให้มีดวงเนตรคมงามและดำขลับดั่งลูกเนื้อทราย
3.  ขอให้คิ้วคมขำดั่งสร้อยคอนกยูง
4.  ขอให้ได้นาม "ผุสดี" ดังภพเดิม
5.  ขอให้พระโอรสเกริกเกียรติที่สุดในชมพูทวีป
6.  ขอให้พระครรภ์งาม  ไม่ป่องนูนดั่งสตรีสามัญ
7.  ขอให้พระถันเปล่งปลั่งงดงามไม่ยานคล้อยลง
8.  ขอให้เส้นพระเกศาดำขลับตลอดชาติ
9.  ขอให้ผิวพรรณละเอียดบริสุทธิ์ดุจทองคำธรรมชาติ
10. ขอให้ได้ปลดปล่อยนักโทษที่ต้องอาญาประหารได้
          กัณฑ์ที่ หิมพานต์  พระนางผุสดีจุติลงมาเป็นราชธิดาของพระเจ้ามัททราช  เมื่อเจริญชนม์ได้ 16 ชันษา  จึงได้อภิเษกสมรสกับพระเจ้ากรุงสญชัยแห่งสีวิรัฐนคร  ต่อมาได้ประสูติพระโอรสนามว่า "เวสสันดร"  ในวันที่ประสูตินั้นได้มีนางช้างฉันททันต์ตกลูกเป็นช้างเผือกขาวบริสุทธิ์จึงได้นำมาไว้ในโรงช้างต้นคู่บารมี ให้นามว่า "ปัจจัยนาค"  เมื่อพระเวสสันดรเจริญชนม์ 16 พรรษา  พระราชบิดาก็ยกราชสมบัติให้ครอบครองและทรงอภิเษกกับนางมัทรี  พระราชธิดาราชวงศ์มัททราช  มีพระโอรสชื่อ  ชาลี  พระธิดาชื่อกัณหา  พระองค์ได้สร้างโรงทาน  บริจาคทานแก่ผู้เข็ญใจ  ต่อมาพระจ้ากาลิงคะแห่งนครกลิงคราษฎร์  ได้ส่งพราหมณ์มาขอพระราชทานช้างปัจจัยนาคเพื่อให้ฝนตกในบ้านเมืองที่แห้งแล้งกันดาร  พระองค์จึงพระราชทานช้างปัจจัยนาคให้แก่พระเจ้ากาลิงคะ  ชาวกรุงสัญชัยไม่พอใจที่พระราชทานช้างคู่บ้านคู่เมืองไป  จึงเนรเทศพระเวสสันดรออกนอกพระนคร
          กัณฑ์ที่ ทานกัณฑ์  พระเวสสันดรทรงมหาสัตตสดกทาน  คือ  การแจกทานครั้งยิ่งใหญ่ก่อนที่พระเวสสันดรพร้อมด้วยพระนางมัทรี  ชาลีและกัณหาออกจากพระนคร  จึงทูลขอพระราชทานโอกาสบำเพ็ญมหาสัตตสดกทาน คือ  การให้ทานครั้งยิ่งใหญ่  อันได้แก่  ช้าง  ม้า  รถ  โคนม  นารี  ทาสี  ทาสา  รวมทั้งสุราบาน  อย่างละ 700
          กัณฑ์ที่ วนประเวศน์  เป็นกัณฑ์ที่สี่กษัตริย์เดินทางสู่เขาวงกต  เมื่อเดินทางถึงนครเจตราชทั้งสี่กษัตริย์จึงแวะเข้าประทับหน้าศาลาพระนคร  กษัตริย์ผู้ครองนครเจตราชจึงทูลเสด็จครองเมือง  แต่พระเวสสันดรทรงปฏิบัติ  กษัตริย์เจตราชจึงมอบหมายให้พรานเจตบุตรผู้มีความเชี่ยวชาญชำนาญป่าเป็นผู้รักษาประตูป่าไม้  กษัตริย์ทั้ง พระองค์ปลอดภัย  และเมื่อเสด็จถึงเขาวงกตได้พบอาศรม  ซึ่งท้าววิษณุกรรมเนรมิตตามพระบัญชาของพระอินทร์ กษัตริย์ทั้งสี่จึงทรงผนวชเป็นฤาษีพำนักในอาศรมสืบมา
          กัณฑ์ที่ ชูชก  ในแคว้นกาลิงคะมีพราหมณ์แก่ชื่อชูชกพำนักในบ้านทุนวิฐะเที่ยวขอทานตามเมืองต่าง ๆ เมื่อได้เงินถึง 100 กหาปณะ  จึงนำไปฝากไว้กับพราหมณ์ผัวเมียแล้วออกเดินทางขอทานต่อไป  เมื่อเห็นว่าชูชกหายไปนานจึงได้นำเงินไปใช้เป็นการส่วนตัว  เมื่อชูชกเดินทางมาทวงเงินคืนจึงยกนางอมิตดาลูกสาวให้แก่ชูกชก  นางอมิตดาเมื่อมาอยู่ร่วมกับชูชกได้ทำหน้าที่ของภรรยาที่ดี  ทำให้ชายในหมู่บ้านเปรียบเทียบกับภรรยาของตน  หญิงในหมู่บ้านจึงเกลียดชังและรุมทำร้ายทุบตีนางอมิตดา  ชูชกจึงเดินทางไปทูลขอกัณหาชาลีเพื่อมาเป็นทาสรับใช้  เมื่อเดินทางมาถึงเขาวงกตก็ถูกขัดขวางจากพรานเจตบุตรผู้รักษาประตูป่า
          กัณฑ์ที่ จุลพน  พรานเจตบุตรหลงกลชูชก  ที่ได้ชูกลักพริกขิงให้พรานดู  อ้างว่าเป็นพระราชสาสน์ของพระเจ้ากรุงสญชัยจะนำไปถวายพระเวสสันดร  พรานเจตบุตรจึงต้อนรับและเลี้ยงดูชูชกเป็นอย่างดีและได้พาไปยังต้นทางที่จะไปอาศรมฤาษี
          กัณฑ์ที่ มหาพน  เมื่อถึงอาศรมได้พบกับอจุตฤาษี  ชูกชกใช้คารมหลอกล่อจนอจุตฤาษีให้ที่พักหนึ่งคืนและบอกเส้นทางไปยังอาศรมพระเวสสันดร  พร้อมพรรณนาหมู่สัตว์และพรรณไม้ตามเส้นทางให้ชูชกฟัง
          กัณฑ์ที่ กัณฑ์กุมาร  เป็นกัณฑ์ที่พระเวสสันดรทรงให้ทานสองโอรสแก่เฒ่าชูชก  พระนางมัทรีฝันร้ายเหมือนบอกเหตุแห่งการพลัดพราก  รุ่งเช้าเมื่อพระนางมัทรีเข้าป่าหาอาหารแล้ว  ชูชกจึงเข้าเฝ้าทูลขอสองกุมาร  สองกุมารลงไปซ่อนตัวอยู่ที่สระ  พระเวสสันดรจึงเสด็จติดตามหาสองกุมารแล้วมอบให้แก่ชูชก
          กัณฑ์ที่ กัณฑ์มัทรี  พระนางมัทรีเดินเข้าไปหาผลไม้ในป่าลึกจนคล้อยเย็นจึงเดนทางกลับอาศรม  แต่มีเทวดาแปลงกายเป็นเสือนอนขวางทางจนค่ำ  เมื่อกลับถึงอาศรมไม่พบโอรสธิดาและพระเวสสันดรได้กล่าวว่านางนอกใจ พระนางมัทรีจึงออกเที่ยวหาโอรสธิดาและกลับมาสิ้นสติต่อเบื้องพระพักตร์  พระองค์ทรงตกพรทัยลืมตนว่าเป็นดาบสจึงทรงเข้าอุ้มพระนางมัทรีและทรงกันแสง  เมื่อพระนางมัทรีฟื้นจึงถวายบังคมประทานโทษ  พระเวสสันดรจึงบอกความจริงว่าได้ประทานโอรสธิดาแก่ชูชกแล้ว  หากชีวิตไม่สิ้นคงจะได้พบกัน  พระนางมัทรีจึงได้ทรงอนุโมทนาในปิยบุตรทานนั้น
          กัณฑ์ที่ 10 สักรบรรพ  พระอินทร์เกรงว่าพระเวสสันดรจะประทานพระนางมัทรีให้แก่ผู้ที่มาขอ  จึงแปลเป็นพราหมณ์เพื่อมาทูลขอพระนางมัทรี  พระเวสสันดรจึงประทานให้พระนางมัทรีก็ยินดีอนุโมทนาเพื่อร่วมทานบารมีให้สำเร็จพระสัมโพธิญาณ  เป็นเหตุให้เกิดแผ่นดินไหวสะท้าน  พระอินทร์ในร่างพราหมณ์จึงฝากพระนางมัทรีไว้ยังไม่รับไป  แล้วตรัสบอกความจริงและถวายคืนพร้อมถวายพระพร ประการ
          กัณฑ์ที่ 11 มหาราช  เมื่อเดินทางผ่านป่าใหญ่ชูชกจะผูกสองกุมารไว้ที่โคนต้นไม้  ส่วนตนเองปีนขึ้นไปนอนต้นไม้  เหล่าเทพเทวดาจึงแปลงร่างลงมาปกป้องสองกุมารจนเดินทางถึงกรุงสีพี  พระเจ้ากรุงสีพีเกิดนิมิตฝันตามคำทำนายนั้นนำมายังความปีติปราโมทย์  เมื่อเสด็จลงหน้าลานหลวงตอนรุ่งเช้า  ทอดพระเนตรเห็นชูชกและกุมารทั้งสองพระองค์  ทรงทราบความจริงจึงพระราชทานค่าไถ่คืน  ต่อมาชูชกก็ถึงแก่ความตายเพราะกินอาหารมากเกินขนาดจนไม่ย่อย  พระชาลีจึงได้ทูลขอให้ไปรับพระบิดาพระมารดานิวัติพระนคร  ในขณะเดียวกันเจ้านครลิงคราษฏร์ได้คืนช้างปัจจัยนาคแก่นครสีพี
          กัณฑ์ที่ 12 ฉกษัตริย์  พระเจ้ากรุงสญชัยใช้เวลา เดือน กับ 23 วัน  จึงเดินทางถึงเขาวงกต  เสียงโห่ร้องของทหารทั้ง 4  เหล่า  ทำให้พระเวสสันดรทรงคิดว่าเป็นข้าศึกมาโจมจีนครสีพี  จึงชวนพระนางมัทรีขึ้นไปแอบดูที่ยอดเขา  พระนางมัทรีทรงมองเห็นกองทัพพระราชบิดาจึงได้ตรัสทูลพระเวสสันดร  และเมื่อทั้งหกกษัตริย์ได้พบกันทรงกันแสงสุดประมาณ  รวมทั้งทหารเหล่าทัพทำให้ป่าใหญ่สนั่นครั่นครืน  พระอินทร์จึงได้ทรงบันดาลให้ฝนโบกขรพรรษตกลงมาประพรมกษัตริย์ให้หายเศร้าโศกและฟื้นพระองค์
          กัณฑ์ที่ 13 นครกัณฑ์  พระเจ้ากรุงสญชัยตรัสสารภาพผิด  พระเวสสันดรจึงทรงลาผนวชพร้อมทั้งพระนางมัทรี  และเสด็จกลับสู่สีพีนคร  เมื่อเสด็จถึงจึงรับสั่งให้ชาวเมืองปล่อยสัตว์ที่กักขัง  ครั้นยามราตรีพระเวสสันดรทรงปริวิตกว่า  รุ่งเช้าประชาชนจะแตกตื่นมารับบริจาคทาน  พระองค์จะประทานสิ่งใดให้แก่ประชาชน  ท้าวโกสีย์ได้ทราบจึงบันดาลให้มีฝนแก้ว ประการ  ตกลงมาในนครสีพีสูงถึงหน้าแข้ง  พระเวสสันดรจึงทรงประกาศให้ประชาชนมาขนเอาไปตามปรารถนา  ที่เหลือให้ขนเข้าพระคลังหลวง
ในกาลต่อมาพระเวสสันดรเถลิงราชสมบัติปกครองนครสีพีโดยทศพิธราชธรรม  บ้านเมืองร่มเย็นเป็นสุขตลอดพระชนมายุ
คำศัพท์
กำเลาะ
หนุ่ม,สาว
เฉวียง
ซ้าย เอียง ตะแคง ทแยง
ชฎิล
นักบวชประเภทหนึ่ง
ทลิกททก
ยาจน เข็ญใจ
วัปป
การหว่านพืช
สังสารวัฏ
การเวียนเกิดเวียนตาย

มงคลสูตรคำฉันท์

มงคลสูตรคำฉันท์

หน่วยการเรียนรู้ที่7
เรื่อง มงคลสูตรคำฉันท์
ความเป็นมา
    เมื่อ พ.ศ. 2466 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในรัชกาลที่6 ทรงนำมงคลสูตรมาทรงพระราชนิพนธ์เป็นบทร้อยกรองประเกทคำฉันท์ โดยใช้คำประพันธ์ 2 ชนิด คือกาพย์ฉบัง 16 และอินทรวิเชียรฉันท์ 11 ทรงนำคาถาภาษาบาลีจากพระไตรปิฏกตั้ง
   แล้วแปลถอดความเป็นร้อยกรองภาษาไทย  ได้ถูกต้องตรงตามบังคับในฉันทลักษณ์
โดยไม่เสียเนื้อความจากพระคาถาบาลี การจัดวางลำดับของมมงคลแต่ละข้อก็เป็นไปตามที่ปรากฏอยู่ในพระคาถาเดิม  ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพระอัจริยภาพทางด้านภาษาได้อย่างดียิ่ง
ผู้แต่ง
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ลักษณะคำประพันธ์
กาพย์ฉบัง 16 และอินทรวิเชียรฉันท์11
เรื่องย่อ
   สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงมงคลสูงสุด 38 ประการ ไว้ในมงคลสูตรซึ่งสำคัญบทหนึ่งในพระพุทธศาสนา มงคลสูตรปรากฏในพระไตรปิฏก ขุททกนิกาย หมวดทขุททกปาฐะ
เนื้อเรื่อง
๑ สิบสองฉนำเหล่า        นรอีกสุเทวา
   รวมกันและตริหา        สิริมังคลา
๒  เทวามนุษย์ทั่ว           พหุภพประเทศใน
     หมื่นจักรวาล              ดำริสิ้นจิรังกาล
     แล้วยังบ่รู้มง-             คละสมมโนมาลย์
    ด้วยกาละล่วงนาน       บ่มิได้ประสงค์สม
     ได้เกิดซึ่งโลกา-           หละยิ่งมโหดม
     ก้องถึงณชั้นพรหม      ธสถิตสะทือนไป
ฯลฯ
คำศัพท์
โกศล
ฉลาด
ขุททกนิกาย
พระสูตรเล็กน้อยหรือย่อยๆ
ขุททกปาฐะ
บทสวดหรือบทสวดสั้นๆ
คติ
วิธี แนวทาง
คาถา
คำประพันธ์ในภาษาบาลี
จิรังกาล
เวลาช้านาน
จำนง
ประสงค์ มุ่งมั่น ตั้งใจ
ชินสีห์
พระนามหนึ่งของพระพุทธเจ้า  แปลว่า ผู้ชนะ
ฉนำ
ปี
เฉิดเฉลา
งามเด่น
ดำกล
ตั้งไว้ ยืนยอยู่
ติระ
ฝั่ง
ทะเลวน
เวียนว่ายตายเกิด
ทศพล
ผู้มีกำลัง 10 ประการ
ทุษะ
คือ โทษ
นร
คน
บรรสาน
คือ ประสาน เชื่อม ผูกไว้
ยำเรอ
รับใช้
ประคอง
พยุงให้ทรงตัวยุ
ปรีย์
มี่รัก

   วิเคราะห์
คุณค่าด้านเนื้อหา
มงคลสูตรคำฉันท์นอกจากจะมีการแปลถอดความมาจากพระคาถาแล้ว ยังมีการอธิบายขยายมงคลเพิ่มเติมเพื่อให้เข้าใจมากขึ้น
คุณค่าด้านวรรณศิลป์
การสรรคำ   การเลือกสรรคำเป็นอย่างดี
การเลือกใช้คำประพันธ์  การเลือกใช้กาพย์ฉบัง16 และ อินทรวิเชียรฉันท์ 11 สามารถประพันธุ์ได้ตรงตามบังคับในฉันทลักษณ์โดยไม่เสียเนื้อความจากพระคาถาบาลี
การแปลถอดความ  การภาษาบาลีเป็นบทร้อยกรอง  ประเภทคำฉันท์ ทรงแปลถอดความได้อย่างสละสลวย

การวิจักษ์เเละการวิจารณ์วรรณคดี

การวิจักษ์เเละการวิจารณ์วรรณคดี การอ่านวรรณคดี ผู้อ่านวรรณคดีจะมีจุดมุ่งหมายต่างๆดังนี้ 1. อ่านเพื่อความเพลิดเพลินอารมณ์ 2. อ่านเพราะ...